วันอังคารที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2560

สิ่งที่ฉันสนใจ

การทำกบยาง


                   
                            วีดีโอนี้เป็นวีดีโอที่ดีเพราะ สามารถทำเป็นรายได้เสริม  และเป็นการ
                                         ตกปลาเพื่อนำมาขายเพื่อเป็นรายได้ที่ดีอีกด้วย

กิตติภพ  เอี่ยมจำรัส     ป.6/2   18

ศุภวัตร   ชมพูพงษ์       ป.6/2   17


เคดิดhttps://www.youtube.com/channel/UC8cWQj4rvFIlykbTSFjjSqg

วันอังคารที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

ประเภทข้อมูลบ

งานชิ้นที่1

                               ด.ช.กิตติภพ   เอี่ยมจำรัส

                               ด.ช. ศุภวัตร    ชมพูพงษ์               

ประเภทของข้อมูล

 ข้อมูลที่อยู่รอบตัวเรา สามารถแบ่งได้เป็น 5 ประเภท ดังนี้
    1. ข้อมูลตัวอักษร (ข้อมูลตัวอักขระ)
    ข้อมูลตัวอักษร หมายถึง ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวอักษรทั้งภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศ เช่น ชื่อ - นามสกุล ประวัติโรงเรียน เป็นต้น และข้อความที่เป็นตัวเลขซึ่งไม่นำไปใช้ในการคำนวณ เช่น ป้ายทะเบียนรถ บ้านเลขที่ เลขที่บัตรประชาชน เป็นต้น


 2. ข้อมูลภาพ
    ข้อมูลภาพ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นภาพในลักษณะต่าง ๆ ที่เรามองเห็นซึ่งอาจเป็นภาพนิ่ง เช่น ภาพวาด ภาพถ่าย เป็นต้น หรือภาพเคลื่อนไหว เช่น ภาพจากโทรทัศน์ ภาพจากวีดิทัศน์ ภาพจากคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

 3. ข้อมูลตัวเลข
    ข้อมูลตัวเลข หมายถึง ข้อมูลที่ประกอบด้วยตัวเลข 0 - 9 ที่เราสามารถนำมาใช้คำนวณได้ หรือนำมาประมวลผลได้ เช่น ราคาสินค้า คะแนนสอบวิชาต่าง ๆ จำนวนเงิน เป็นต้น


    4. ข้อมูลเสียง
    ข้อมูลเสียง หมายถึง ข้อมูลที่เกิดจากการได้ยิน เช่น เสียงคนพูด เสียงสัตว์ร้อง เสียงจากปรากฏการณ์ธรรมชาติ หรือเสียงจากอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถแสดงผลข้อมูลในรูปแบบเสียงได้ เช่น แผ่นซีดี โทรทัศน์ วิทยุ เป็นต้น

 5. ข้อมูลอื่น ๆ 
    ข้อมูลอื่น ๆ หมายถึง ข้อมูลที่นอกเหนือจากข้อมูลทั้ง 4 ประเภท ที่กล่าวมาแล้ว เช่น ข้อมูลกลิ่น ข้อมูลรสชาติ ข้อมูลเกี่ยวกับอุณหภูมิ เป็นต้น

วันรัฐธรรมนูญ

งานชิ้นที่3

                            ด.ช.กิตติภพ         เอี่ยมจำรัส   เลขที่18

                            ด.ช.ธีรวัฒน์           อยู่ผาสุข     เลขที่4

                                                      

       

ประวัติความเป็นมา

          การเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบประชาธิปไตย โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญอันเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ

ลักษณะlที่ดีของรัฐธรรมนูญ

รัฐธรรมนูญที่ดี คือ รัฐธรรมนูญที่เหมาะสมกับสภาพอันแท้จริงของรัฐ กล่าวคือ เพื่อผลประโยชน์ต่อประชาชนเป็นส่วนรวม ชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันของเอกชนแต่ละบุคคล รัฐธรรมนูญที่ดีมีลักษณะสำคัญ 5 ประการ ดังนี้คือ
  1. รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีข้อความที่ชัดเจนแน่นอน เพื่อจะให้เข้าใจได้ง่าย ไม่ใช้คำที่กำกวม ซึ่งล่อแหลมต่อการตีความผิดๆ จะต้องใช้ถ้อยคำที่เลือกสรรมาแล้วว่ามีความหมายที่แน่นอนที่สุด คำหรือข้อความที่มีความหมายสองแง่สองมุมหรือกำกวม ซึ่งอาจทำให้เข้าใจไปได้หลายกรณีไม่ควรนำมาใช้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญ 
  2. รัฐธรรมนูญที่ดีควรจะมีการบัญญัติสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้อย่างชัดเจนแน่นอน รวมทั้งการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอีกด้วย เพื่อที่จะเป็นหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของประชาชน ป้องกันมิให้รัฐหรือเอกชนมากดขี่บังคับได้ ซึ่งถ้ารัฐออกกฎหมายใดที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนแล้ว กฎหมายนั้นก็ขัดกับรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของชาติ และจะต้องถือว่ากฎหมายนั้นเป็นโมฆะไป ดังเช่น สิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งกำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญเรื่องสิทธิในทรัพย์สมบัติของตน เสรีภาพในการพูด การเขียน เป็นต้น ถือว่าเป็นกฎหมายสูงสุดซึ่งจะล้มล้างไม่ได้
  3. รัฐธรรมนูญที่ดีต้องครอบคลุมบทบัญญัติเกี่ยวกับการปกครองของรัฐไว้อย่างครบถ้วน กล่าวคือ รัฐธรรมนูญควรจะมีบทบัญญัติถึงการใช้อำนาจอธิปไตย การแบ่งอำนาจอธิปไตย ความสัมพันธ์ขององค์การที่ใช้อำนาจอธิปไตยและสถาบันทางการเมืองของรัฐ การกำหนดวิธีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลตามวิถีทางของรัฐธรรมนูญ
  4. รัฐธรรมนูญที่ดีไม่ควรยาวเกินไป เพราะรัฐธรรมนูญที่ดีควรจะมีบทบัญญัติหลักการจัดรูปการปกครองของรัฐที่สำคัญและจำเป็นเท่านั้น รัฐธรรมนูญที่มีบทบัญญัติยืดยาวและมีรายละเอียดมากเกินไปจะทำให้การตีความยุ่งเหยิงมากขึ้นและจะไม่ได้รับความเคารพเท่าที่ควร เพราะบทบัญญัติซึ่งละเอียดฟุ่มเฟือยเกินไปอาจไม่เหมาะสมกับสถานการณ์จะทำให้เกิดมีการแก้ไขบ่อยจนเกินไป สำหรับรายละเอียดปลีกย่อยของการปกครองประเทศนั้น ควรเป็นหน้าที่ขององค์กรฝ่ายนิติบัญญัติจะออกกฎหมายธรรมดาออกมา มิใช่เรื่องที่ควรบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ

    บทบัญญัติรัฐธรรมนูญนั้น ข้อใหญ่ใจความควรจะเป็นการจัดรูปรัฐบาล การบัญญัติสภา วิธีการก่อตั้งและอำนาจหน้าที่ขององค์กรต่างๆ ของรัฐบาล ตลอดจนวิธีการที่องค์การเหล่านี้จะใช้อำนาจหน้าที่กำหนดไว้ในบทบัญญัติ เป็นสิ่งที่จะละเลยไม่ได้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญทั้งนี้รัฐธรรมนูญจะต้องไม่สั้นจนเกินไปจนไม่มีบทบัญญัติเหล่านี้อยู่ 
  5. รัฐธรรมนูญที่ดีควรมีกำหนดวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามกฎหมายขึ้นไว้ เพราะรัฐธรรมนูญที่ดีต้องมีความยืดหยุ่นเหมาะสมกับกาลสมัย การที่มีวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญตามกฎหมายนั้นก็เพื่อป้องกันการล้มล้างหรือแก้ไขรัฐธรรมนูญโดยการใช้กำลังอันเป็นธรรมชาติของมนุษย์ เมื่อไม่มีทางออกก็อาจเกิดการปฏิวัติหรือรัฐประหารขึ้นเพื่อที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ
สำหรับหลักการในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ต้องไม่ง่ายจนเกินไปเพราะจะทำให้รัฐธรรมนูญไม่ได้รับความเคารพจากประชาชนเท่าที่ควร และแก้ไขเพิ่มเติมควรเป็นการถาวรพอสมควรไม่ใช่เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมชั่วคราว

รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐ แต่รัฐธรรมนูญก็เป็นกฎหมายธรรมดาทั่วไปในแง่ที่ว่า ถ้าไม่มีผู้ใดปฏิบัติตามโดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่รักษากฎหมายละเมิดกฎหมายเสียเอง รัฐธรรมนูญก็มีค่าเพียงแค่เศษกระดาษธรรมดาเท่านั้น

กิจกรรมในวันรัฐธรรมนูญ

มีการจัดพระราชพิธีบำเพ็ญพระราชกุศลฉลอง ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม ทุกปีสืบมา งานนี้เป็นงานพระราชพิธีและรัฐพิธีร่วมกัน และมีพิธีการวางพวงมาลาถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 และจะมีการประดับธงชาติบริเวณอาคารบ้านเรือน มีการจัดงาน “เด็กไทย รักรัฐสภา” พร้อมเปิดโอกาสให้ตัวแทนเยาวชนได้สัมภาษณ์ และแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ
                       CraditBy:scoop